วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์

ไมโครโปรเซสเซอร์โดยทั่วไปจะหมายถึง CPU หรือหน่วยประมวลผลกลางของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ คือ หน่วยคำนวณและตรรกะ หรือ ALU (Arithmetic Logic Unit) ซึ่งทำหน้าที่ในการจัดการด้านคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร รวมถึงการจัดการในเชิงตรรกศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่า เงื่อนไขนั้น เป็นจริงหรือเท็จ เช่น เปรียบเทียบเงื่อนไขของจำนวน 2 จำนวน ว่ามากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ ไม่เท่ากับ เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบลักษณะนี้จะใช้ในการเลือกทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ช่วงปี ค.ศ. 1930 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1940 เป็นช่วงที่โลกได้มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถโปรแกรมได้และคำนวณผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพจริง แต่เป็นการยากที่จะตัดสินได้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกเกิดในปีใดและประดิษฐ์โดยใคร เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในช่วงแรกๆ ยังไม่สามารถทำงานได้สมบูรณ์อย่างแท้จริง  คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ คอมพิวเตอร์ทำให้
1. ทันสมัย / ทันเหตุการณ์ / ทันข้อมูลข่าวสาร / ทันโลก ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
2. ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์
    ที่เรียกว่า โปรแกรม CAI
3. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
4. ช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง
6. ช่วยสร้างงานศิลปะ ออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ สวยงาม

ซึ่งคอมพิวเตอร์นี้มีทั้งหมด 11 ระบบคือ
1. ระบบที่ไม่มีระบบปฏิบัติการ (Non operating system)
2. ระบบงานแบ็ตซ์ (Batch system)
3. ระบบบัฟเฟอร์ (Buffering system)
 4. ระบบสพูลลิ่ง (Spooling)
5. ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming)
6. ระบบแบ่งเวลา (Time-sharing หรือ Multitasking)
7. ระบบเรียลไทม์ (Real-time system)
8. ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer System)
9. ระบบเวอร์ชวลแมชีน (Virtual machine)
10. ระบบมัลติโปรเซสเซอร์ (Multiprocessor system)
11. ระบบแบบกระจาย (Distributed system)
โดยหลักการแล้ว ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ทำงานตามหน้าที่ 4 ส่วนด้วยกัน คือ

    1.)
ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
    2.)
ส่วนประมวลผลข้อมูล (
Central Processing Unit)
    3.)
ส่วนแสดงผล (
Output Unit)
    4.)
หน่วยความจำ (Memory Unit)